เมนู

เพราะเหตุอะไร เพราะความหวังในวิมุตติของเธอ เมื่อครั้งยังไม่วิมุตตินั้น
รำงับไปแล้ว นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้สิ้นความหวังแล้ว
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกมีอยู่ในหมู่ภิกษุ.
จบภิกขุสูตรที่ 3

อรรถกถาภิกขุสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในภิกขุสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า สนฺโต แปลว่า มีอยู่ คือหาได้อยู่. บทว่า สํวิชฺชมานา
เป็นไวพจน์ของบทว่า สนฺโต นั้นนั่นแล. บทว่า โลกสฺมึ ได้แก่ ใน
สัตว์โลก. บทว่า นิราโส ได้แก่บุคคลผู้ไม่มีความหวัง คือ ไม่มีความ
ปรารถนา.

อธิบายบทว่า อาสํโส - วิคตาโส



บทว่า อาสํโส ได้แก่ บุคคลยังหวังอยู่ คือยังปรารถนาอยู่. บทว่า
วิคตาโส ได้แก่ บุคคลผู้เลิกหวังแล้ว. บทว่า จณฺฑาลกุเล ได้แก่ ใน
ตระกูลของคนจัณฑาลทั้งหลาย. บทว่า เวณกุเล ได้แก่ ในตระกูลของช่าง
สาน.1 บทว่า เนสาทกุเล ได้แก่ ในตระกูลของนายพราน มีนายพราน
เนื้อเป็นต้น. บทว่า รถการกุเล ได้แก่ในตระกูลช่างหนัง. บทว่า ปุกฺกุสกุเล
ได้แก่ ในตระกูลของคนเทขยะ.
ครั้นทรงแสดงความวิบัติของตระกูลด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้
เพราะเหตุที่บุคคลลางคน แม้เกิดในตระกูลต่ำก็ยังมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก แต่บุคคล
1. ปาฐะว่า วิวินฺนการกุเล ฉบับพม่าเป็น วิลีวการกุเล แปลตามฉบับพม่า.

ผู้ไม่มีหวังนี้ หาเป็นเช่นนั้นไม่ ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงถึงความวิบัติแห่งโภคะ
ของเขา จึงตรัสคำว่า ทลิทฺเท เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทลิทฺเท ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความ
เป็นผู้ยากจน. บทว่า อปฺปนฺนปานโภชเน ได้แก่ ตระกูล ที่มีข้าวน้ำ
และของบริโภคอยู่น้อย. บทว่า กสิรวุตฺติเก ได้แก่ ตระกูล ที่มีการเลี้ยง
ชีพลำบาก อธิบายว่า ในตระกูลที่คนทั้งหลาย ใช้ความพยายาม พากเพียร
อย่างยิ่ง สำเร็จการเลี้ยงชีวิต. บทว่า ยตฺถ กสิเรน ฆาสจฺฉาโท ลพฺภติ
ความว่า คนในตระกูลใด ทำมาหากิน ได้ของกิน คือ ข้าวยาคูและภัตร
และเครื่องนุ่งห่มที่พอปกปิดอวัยวะที่น่าละอายโดยยาก.
บัดนี้ เพราะเหตุที่บุคคลลางคนแม้เกิดในตระกูลต่ำมีอุปธิสมบัติ
คือดำรงอยู่ในการที่มีร่างกายสมประกอบ แต่ว่าบุคคลนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ฉะนั้น
เพื่อจะทรงแสดงความวิบัติแห่งร่างกายของเขา พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส
คำว่า โส จ โหติ ทุพฺพณฺโณ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺพณฺโณ ความว่า มีผิวพรรณดัง
ตอถูกไฟไหม้ คล้ายปีศาจคลุกฝุ่น.
บทว่า ทุทฺทสิโก ได้แก่ ไม่เป็นที่เจริญตา แม้ของมารดา บังเกิด
เกล้า. บทว่า โอโกฏิมโก ได้แก่คนเตี้ย. บทว่า กาโณ ได้แก่คนตาบอด
ข้างเดียวบ้าง คนตาบอดสองข้างบ้าง. บทว่า กุณิ ได้แก่ คนมือเป็นง่อย
ข้างเดียวบ้าง ง่อยทั้งสองข้างบ้าง. บทว่า ขญฺโช ได้แก่ คนขาเขยกข้าง
เดียวบ้าง คนขาเขยกทั้งสองข้างบ้าง. บทว่า ปกฺขหโต ได้แก่ คนเปลี้ย
คือคนง่อย.
บทว่า ปทีเปยฺยสฺส ได้แก่ อุปกรณ์แสงสว่าง มีน้ำมันและกระเบื้อง
เป็นต้น. บทว่า ตสฺส น เอวํ โหติ ความว่า คนนั้นย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่มี.

ตอบว่า เพราะเขาเกิดในตระกูลต่ำ.
บทว่า เชฏฺโฐ ความว่า เมื่อพระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่งที่เป็น
องค์โตยังมีอยู่ พระราชโอรสองค์เล็ก ก็ไม่ทรงทำความหวัง เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เชฏฺโฐ ดังนี้. บทว่า อภิเสโก ความว่า
แม้พระราชโอรสองค์โตก็ยังไม่ควรอภิเษก จึงไม่ทรงทำความหวัง เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อภิเสโก ดังนี้. บทว่า อนภิสิตฺโต
ความว่า แม้พระราชโอรสที่ควรแก่การอภิเษกซึ่งเว้นจากโทษ มีพระเนตรบอด
และพระหัตถ์หงิกง่อยเป็นต้น ได้รับอภิเษกครั้งเดียวแล้ว ก็ไม่ทรงทำความ
หวังในการอภิเษกอีก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
อนภิสิตฺโต ดังนี้. บทว่า มจลปฺปตฺโต1 ความว่า ฝ่ายพระราชโอรส
องค์โตก็ยังเป็นเด็กอ่อนนอนแบเบาะ มิได้รับการอภิเษก พระราชโอรสแม้นั้น
มิได้ทำความหวังในการอภิเษก แต่ต่อมา ทรงมีพระชนมายุ ได้ 16 พรรษาเริ่ม
มีพระมัสสุปรากฏ ชื่อว่าทรงบรรลุนิติภาวะ สามารถจะว่าราชการใหญ่ได้
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า มจลปฺปตฺโต ดังนี้. บทว่า
ตสฺส เอวํ โหติ ได้แก่ ถามว่า เพราะเหตุไร พระราชโอรสนั้น จึงมีพระ-
ดำริอย่างนี้. ตอบว่า เพราะพระองค์มีพระชาติสูง.
บทว่า ทุสฺสีโล ได้แก่ ผู้ไม่มีศีล. บทว่า ปาปธมฺโม ได้แก่ ผู้มี
ธรรมอันลามก. บทว่า อสุจิ ได้แก่ผู้ประกอบด้วยกรรมทั้งหลาย มีกายกรรม
เป็นต้นอันไม่สะอาด. บทว่า สงฺกสฺสรสมาจาโร ความว่า ผู้มีสมาจารอัน
บุคคลอื่น พึงระลึกถึงด้วยความรังเกียจ คือมีสมาจารเป็นที่ตั้งแห่งความรังเกียจ
ของคนอื่นอย่างนี้ว่า ผู้นี้ชะรอยจักทำบาปกรรมนี้ เพราะเขาได้เห็นบาปกรรม
1. ในพระบาลี เป็น อจลปฺปตฺโต.

บางอย่างที่ไม่เหมาะสม. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า มีสมาจารที่ตนนั่นแล พึง
ระลึกถึงด้วยความระแวง ชื่อว่า สงฺกสฺสรสมาจาโร. จริงอยู่ ภิกษุนั้น
เห็นภิกษุทั้งหลายประชุมปรึกษากันถึงเรื่องบางเรื่องในที่ทั้งหลายมีที่พักกลางวัน
เป็นต้น แล้วก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้จับกลุ่มกันปรึกษา พวกเธอ
รู้กรรมที่เราทำแล้วจึงปรึกษากัน หรือหนอแล อย่างนี้ เธอชื่อว่า มีสมาจาร
ที่ตนเองพึงระลึกถึงด้วยความระแวง. บทว่า ปฏิจฺฉนฺนกมฺมนฺโต ความว่า
ผู้ประกอบด้วยบาปกรรมที่ต้องปิดบัง. บทว่า อสฺสมโณ สมณปฏิญฺโญ
ความว่า บุคคลไม่เป็นสมณะเลย แต่กลับปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นสมณะ
เพราะเขาเป็นสมณะเทียม.
บทว่า อพฺรหฺมจารี พฺรหฺมจารีปฏิญฺโญ ความว่า บุคคลไม่เป็น
พรหมจารีเลย แต่เห็นผู้อื่นที่เป็นพรหมจารีนุ่งห่มเรียบร้อย ครองผ้าสีดอกโกสุม
เที่ยวบิณฑบาต เลี้ยงชีวิตอยู่ในคามนิคมราชธานี ก็ทำเป็นเหมือนให้ปฏิญญา
ว่า เราเป็นพรหมจารี เพราะแม้ตนเองก็ปฏิบัติด้วยอาการเช่นนั้น คืออย่าง
นั้น. แต่เมื่อกล่าวว่า เราเป็นภิกษุ แล้วเข้าไปยังโรงอุโบสถเป็นต้น ชื่อว่า
ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี แท้ทีเดียว. เมื่อจะรับลาภของสงฆ์ก็ทำนองเดียวกัน
คือปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี.
บทว่า อนฺโตปูติ ได้แก่ มีภายในหมักหมมด้วยกรรมเสีย. บทว่า
อวสฺสุโต ได้แก่ ผู้เปียกชุ่มด้วยกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ที่เกิดอยู่เสมอ
บทว่า ตสฺส น เอวํ โหติ ความว่า บุคคลนั้น ไม่มีความคิดอย่างนี้
เพราะเหตุไร เพราะเขาไม่มีอุปนิสัยแห่งโลกุตรธรรม. บทว่า ตสฺส เอวํ
โหติ
ความว่า เพราะเหตุไร เธอจึงมีความคิดอย่างนี้ เพราะเธอเป็นผู้มี
ปกติทำให้บริบูรณ์ในมหาศีล.
จบอรรถกถาภิกขุสูตรที่ 3

4. จักกวัตติสูตร



ว่าด้วยราชาของพระเจ้าจักรพรรดิและของพระพุทธองค์



[453] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา ย่อมไม่ยังจักรอันไม่มีพระราชาให้เป็นไป ครั้นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ใครเป็นพระราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรม เป็นพระราชา
ของพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ ... ทรงอาศัยธรรมนั่นแล ทรง
สักการะ ... เคารพ ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มี
ธรรมเป็นอธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอย่างยุติธรรม ในอันโตชน1
... ในกษัตริย์ ... ในอนุยนต์2... ในทหาร ... ในพราหมณคฤหบดี ... ใน
ชาวนิคมชนบท ... ในสมณพราหมณ์ ... ในเนื้อและนกทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ
พระเจ้าจักรพรรดิ ... นั้นแล ครั้นทรงอาศัยธรรม ทรงสักการะ ... เคารพ ...
นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นอธิปไตย จัดการ
รักษาป้องกันคุ้มครองอย่างยุติธรรม ในอันโตชน ... ในกษัตริย์ ... ใน
อนุยนต์ ... ในทหาร ... ในพราหมณคฤหบดี ... ในชาวนิคมชนบท ... ใน
สมณพราหมณ์ ... ในเนื้อและนกทั้งหลายแล้ว ทรงยังจักรให้เป็นไปโดยธรรม
นั้นเทียว จักรนั้นจึงเป็นจักรอันข้าศึกผู้เป็นมนุษย์ไร ๆ ให้เป็นไปตอบไม่ได้
(คือต้านทานคัดค้านไม่ได้)
ดูก่อนภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะก็อย่างนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น ทรงสักการะ ...
1. คนในครัวเรือน คือ ในราชสำนัก 2. ราชบริพาร